ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว

(1) การส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายอาหารปลอดภัย

(2) การส่งเสริมการท่องเที่ยว

(3) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(4) เมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย และน่าอยู่อย่างยั่งยืน

(5) การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล  พัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากร และหน่วยงานภาครัฐ

แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวจึงได้วางยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายอาหารปลอดภัย

แนวทางการพัฒนา

  • พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการจำหน่าย
  • ส่งเสริมการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต
  • ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และเกษตรปลอดภัย
  1. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนวทางการพัฒนา

  • ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว อนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรม ศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณีในชุมชน
  • เพิ่มศักยภาพการประชาสัมพันธ์ และขยายโอกาสทางการตลาดด้านการท่องเที่ยว

3. ยุทธศาสตร์การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

แนวทางการพัฒนา

  • ส่งเสริมภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการส่งเสริม

อาชีพ

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาตามศักยภาพ
  • สร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบและวิธีการที่หลากหลาย และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและผู้ใช้บริการ
  1. ยุทธศาสตร์เมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัยและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

แนวทางการพัฒนา

4.1 พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านสังคม   ส่งเสริมการกีฬา   สร้างนิสัยรักการกีฬา และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน   ระบบสาธารณูปโภค   สาธารณูปการ   เทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาสังคม  คุณภาพชีวิตของประชาชน

4.3 พัฒนาแหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มมากขึ้น

4.4 ส่งเสริมสุขภาพ   และการสาธารณสุข

4.5 ประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชนในเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการกำจัดขยะมูลอย่างถูกสุขลักษณะ

4.6 สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน   ครอบครัวอบอุ่น

4.7 สร้างหลักประกันทางสังคมให้กับเด็ก เยาวชน คนชรา ผู้ยากไร้   ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส

5.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล   พัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากร  และหน่วยงานภาครัฐ   

แนวทางการพัฒนา

  • ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรและองค์กรที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • จัดหาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อนำมาใช้ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
  • ปรับปรุงรูปแบบการทำงาน อำนวยความสะดวก  ลดขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ขยายการให้บริการประชาชน

แนวทางการพัฒนาซึ่งนำมาเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างมี

ประสิทธิภาพ  โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  คือ  ร่วมคิด  ร่วมทำ  ด้วยความโปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้ เพื่อนำตำบลหนองทรายขาวให้บรรลุไปตามวิสัยทัศน์การพัฒนา  คือ  “ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี  มีชุมชนเข้มแข็ง  เป็นแหล่งเกษตรกรรม  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง  ชื่อเสียงมุ่งสู่เมืองน่าอยู่”  โดยนำหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล  มาใช้ในการพัฒนาตำบลหนองทรายขาว  ซึ่งสัญญาประชาคมที่กระผมได้ให้ไว้กับประชาชนในครั้งนี้  นับว่าเป็นภารกิจอันสำคัญที่กระผมจะต้องยึดเป็นแนวทางในการทำงานเพื่อให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจ และมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ถูกกำหนดให้ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดไว้   แผนพัฒนาตำบล   และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน นโยบายที่กระผมจะแถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวในวันนี้  ก็จะถือปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวข้างต้น  โดยกำหนดนโยบายการพัฒนา   ๕   ด้านไว้ดังนี้

๑.นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว มุ่งมั่นที่จะยกระดับด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนและการเกษตร และส่งเสริมให้ได้มาตรฐานและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนความสะดวก ความปลอดภัย โดยมีแนวทางดังนี้

๑.๑ ขยายเขตไฟฟ้า ตามสภาพพื้นที่ให้ครอบคลุมและทั่วถึงทั้งตำบล  พร้อมทั้งติดตั้งโคมไฟสาธารณะริมถนนสัญจรในเขตพื้นที่ตำบลหนองทรายขาวให้ครอบคลุมและทั่วถึง

๑.๒ การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน  ตำบล   โดยจะปรับปรุงให้เป็นถนนที่ได้มาตรฐาน  ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี  เช่น  ดำเนินการก่อสร้างหรือปรับปรุงถนนที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านหรือตำบล ให้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  ถนนลาดยาง  หรือถนนลูกรังบดอัดปรับเกรดให้มีสภาพดีขึ้น  สามารถอำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมา  การขนส่งสินค้าให้มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น  ซึ่งเป็นการกระจายความเจริญไปยังทุกที่

๑.๓ การสร้างและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ และชลประทาน  โดยเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค  บริโภค  หรือเพื่อใช้ในด้านการเกษตรให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึง  รวมทั้งการขุดลอกคูคลอง  กำจัดวัชพืช ตามแหล่งน้ำ

๑.๔ ปรับปรุงมาตรฐานการผลิตน้ำประปา  และระบบผลิตน้ำประปาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข  เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำประปาใช้ในการอุปโภค-บริโภค

๒.นโยบายด้านเศรษฐกิจ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว จะส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการ

สร้างรายได้  ลดรายจ่าย ให้กับประชาชนทุกระดับ  โดยส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานรากของตำบล  โดยมีแนวทางดังนี้

๒.๑ ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงาน และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน ๓  ขั้นตอน  คือ

         ขั้นตอนที่  ๑  ให้แต่ละครอบครัวมีความพอเพียงต่อการบริโภค

         ขั้นตอนที่  ๒  เน้นเศรษฐกิจหรือธุรกิจชุมชน

         ขั้นตอนที่  ๓  เชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน และการส่งเสริมด้านการตลาดเน้นด้านการส่งออกและนำเข้า

๒.๒ ส่งเสริมให้ประชาชนได้นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

๒.๓ จัดตั้งและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน  ผลิตภัณฑ์ตำบล  (OTOP)

๒.๔ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

๒.๕ ส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ  กลุ่มสตรี  กลุ่มเด็กและเยาวชน

๒.๖ ส่งเสริมการรวมกลุ่ม/การพัฒนาเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

๒.๗ สนับสนุนส่งเสริมการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน  เกษตรทางเลือกและเกษตรอินทรีย์รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร พัฒนาระบบท่อส่งน้ำสำหรับการเกษตร  การทำนา

๒.๘ ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรโดยลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ในการลงทุน

๒.๙ ส่งเสริมมุ่งเน้นการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่  เพื่อยกระดับความรู้  ฝีมือและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มการผลิตและจำหน่าย

๒.๑๐ ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน

๓. นโยบายด้านสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม นันทนาการ และสาธารณสุข

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับ

โอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิตและมีปัญญาเป็นทุน โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ  สร้างคน  และสร้างงาน   ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชน เยาวชน ให้ความสำคัญทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม รวมถึงการให้ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี  โดยมีแนวทางดังนี้

๓.๑ ขยายศักยภาพในแผนงานโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล  โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนาพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิต  ความเป็นอยู่ของชาวตำบลหนองทรายขาวให้ดีขึ้น ในด้านการสังคมสงเคราะห์ให้แก่เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

๓.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์  รวมทั้งจัดสวัสดิการที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

๓.๓ พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวให้ได้มาตรฐาน  มีความปลอดภัย  เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาวะที่ดี  ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน คือ ร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา

๓.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากระบวนการทางการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบตามอัธยาศัยและดำเนินงานเรื่องการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย ให้ได้รับการพัฒนาในทุกๆด้าน และพัฒนาวิชาการสู่มาตรฐาน

๓.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนของนักเรียนของโรงเรียนในเขตตำบลหนองทรายขาว

๓.๖ การส่งเสริมจารีตประเพณี  วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตำบลหนองทรายขาว  เช่น  ประเพณีวันสงกรานต์  ประเพณีกำฟ้า ฯลฯ  เป็นต้น รวมทั้งสืบสานวัฒนธรรม  ประเพณี  วิถีชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓.๗ ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาอบรมและเรียนรู้พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น  นอกจากนี้จะส่งเสริมสนับสนุนและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบยั่งยืน

๓.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนตำบลหนองทรายขาวมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย โดยการจัดทำสวนสุขภาพ สนามกีฬาในร่ม/กลางแจ้ง จัดหาเครื่องออกกำลังกาย

๓.๙ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมกีฬาชนิดต่างๆ

๓.๑๐ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันกีฬาทั้งภายในและภายนอกเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เยาวชน  ประชาชนได้รับโอกาสในการเล่นกีฬาอย่างถูกวิธีและการออกกำลังกายอย่างทั่วถึง

๓.๑๑ ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดผู้ติดยาเสพติด

๓.๑๒ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่สอดคล้องกับทิศทางของการสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมและสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข  เสริมสร้างสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุ

๓.๑๓ ส่งเสริมการดำเนินงานด้านสุขภาพอนามัยและการจัดการสุขภาวะภาคประชาชนโดยผ่านกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน

๓.๑๔ ส่งเสริมสนับสนุนการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่างๆ  รวมถึงการเฝ้าระวัง  ติดตาม  สังเกตการณ์ และแก้ไขปัญหาโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในตำบลหนองทรายขาว

๓.๑๕ ส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมเครือข่ายบริการ สาธารณสุข อปพร. อสม. มูลนิธิและองค์กรเอกชนในการช่วยเหลือการกู้ภัยฉุกเฉินผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

๓.๑๖ ส่งเสริมการจัดทำแผนแม่บทชุมชน และแผนปฏิบัติการชุมชน การรวมกลุ่มของสังคม องค์กรชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างเครือข่ายการพัฒนาสังคม

๓.๑๗ พัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชน สร้างชุมชนตำบลหนองทรายขาวให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

๓.๑๘ ส่งเสริมสนับสนุนอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงเครือข่ายต่างๆในการเรียนรู้

๔.นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและการป้องกันการเสื่อมโทรม หรือสูญสิ้นไปของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   โดยมีแนวทางดังนี้

๔.๑ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการรณรงค์ให้ประชาชนตำบลหนองทรายขาวเห็นคุณค่าและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๔.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการขยะแบบการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางอันนำไปสู่การจัดการขยะฐานศูนย์และการพัฒนาแนวทางรูปแบบ ๓R ดังนี้

Reduce  คือ  การลดการใช้  การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง

Reuse    คือ  การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด   โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ

Recycle  คือ  การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่

๕.นโยบายด้านการเมืองการบริหาร

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว มีนโยบายในการนำหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก โดยมีแนวทางดังนี้

๕.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกๆด้าน โดยการ “ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อประชาชนชาวตำบลหนองทรายขาว” ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนปกป้องสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์

๕.๒ พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวให้เป็นองค์กรธรรมาภิบาลที่มีหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีและเป็นหน่วยงานบริการสังคมที่ดีมีมาตรฐาน ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา การสร้างกระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับให้แก่สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและพนักงาน พร้อมทั้งสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐาน เพื่อรองรับการบริการแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

๕.๓ เน้นการบริหารราชการแบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการบ้านเมืองมากขึ้น โดยให้ประชาชนเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติงานและตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน

๕.๔ มุ่งเน้นพัฒนาฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน พนักงานส่วนตำบล ตลอดจนพนักงานจ้าง ได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และมีประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มแนวคิดในการพัฒนาตำบลหนองทรายขาวเพิ่มมากยิ่งขึ้น

๕.๕ บริหารการเงินการคลังอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนโดยเฉพาะการรักษาวินัยทางการคลัง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

๕.๖ ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เอกสารข่าว วารสารเผยแพร่กิจกรรมให้ประชาชนได้รับทราบ

๕.๗ ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารและการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยโดยการพัฒนาระบบกลไกการทำงานในระบบสภาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของชุมชนและภาคประชาคม

๕.๘ ประสานเพื่อก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทำงานทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตพื้นที่อำเภอบ้านหมี่และพื้นที่อื่นๆ  และองค์กรเอกชน

๕.๙ ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และความรู้ความสามารถในการป้องกันสาธารณภัย

๕.๑๐ ซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง อาคารสำนักงานที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว ให้ได้มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการประชุม รับรองแขก และการจัดกิจกรรมต่างๆของตำบล

๕.๑๑ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์สำนักงานต่างๆที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของพนักงานและเจ้าหน้าที่รวมถึงการบำรุงรักษา และซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  การกำหนดนโยบายการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวดังกล่าวได้วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อให้สามารถดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ ทั้งนี้การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว  ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวตำบลหนองทรายขาว โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดความเห็นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  การจัดทำงบประมาณ  การจัดซื้อจัดจ้าง  การตรวจสอบ  การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส  และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการนั้น

นโยบายทั้ง ๕ ด้านดังกล่าวข้างต้นจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน หน่วยงานต่างๆภายในชุมชน และข้าราชการ  พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างในฐานะผู้ปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือจากประชาชนตำบลหนองทรายขาว ซึ่งกระผมในฐานะที่เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนชาวตำบลหนองทรายขาว ในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว ตามกระบวนการประชาธิปไตย กระผมพร้อมคณะผู้บริหารจะบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว เพื่อประโยชน์ของทางราชการ และประโยชน์สุขของประชาชนตำบลหนองทรายขาว

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

๑. การคมนาคมสะดวก

๒. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง

๓. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ตามแนวธรรมาภิบาล

๔. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

๕. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

๖. ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี

๗. ประชาชนมีสุขภาพดี

๘. พัฒนาและจัดการด้านอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพและไม่มีมลภาวะต่อประชาชน

๙. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน

๑๐. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๑๑. ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุได้รับการดูแล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  1

             ยุทธศาสตร์กรส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายอาหารปลอดภัย

              พันธกิจ:  พัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการจัดจำหน่ายอาหารปลอดภัย

          เป้าประสงค์:  เพื่อพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ข้าว พืชสวน ให้ได้ผลผลิตเพิ่มและออกสู่ตลาดการแปรรูปผลผลิตและส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษในตำบลหนองทรายขาว

ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

จำนวนหมู่บ้านที่ได้เข้าโครงการและด้านส่งเสริมการผลิตและการจัดจำหน่ายอาหารปลอดภัย

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1.  พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการจัดจำหน่าย จำนวนผลผลิตออกสู่ตลาดชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่
2.  ส่งเสริมการแปรรูปการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต จำนวนผลผลิตและการแปรรูปอาหารอาหารเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
3.ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และเกษตรปลอดภัย จำนวนเกษตรกรให้ความสนใจและเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพเกษตรอินทรีย์มากกว่าปุ๋ยเคมีมากขึ้น

 

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

  • สำนักปลัด

ความเชื่อมโยง

  1. ยุทธศาสตร์จังหวัด

ยุทธศาสตร์ที่  1การสร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตอาหารปลอดภัย

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ :

ยุทธศาสตร์ที่  1การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อหลุดพ้นจากประเทศปานกลาง

๓. ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคกลางตอนบน ๒ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง 

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยกระดับกระบวนการผลิต การตลาด และระบบLogistic อาหารปลอดภัย

๔. ยุทธศาสตร์ อบต. หนองทรายขาว

         ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการผลิตและอาหารปลอดภัย แนวทางที่ ๑ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการจำหน่ายอาหารปลอดภัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  ๒

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งเสริมวัฒนธรรม ศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในชุมชน

  พันธกิจ:  พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งเสริมวัฒนธรรม ศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในชุมชน

เป้าประสงค์:  ประชาชนได้รับการพัฒนา มีการส่งเสริมด้านวัฒนธรรม ศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในชุมชน

ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

จำนวนคนที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม ศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในชุมชน

              กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์และสือบทอดวัฒนธรรม ศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น เกิดการอนุรักษ์ และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้สืบต่อไป
เพื่มศักยภาพการประชาสัมพันธ์และขยายโอกาสทางการตลาดด้านการท่องเที่ยว ร้อยละจำนวนผู้พบเห็นและรู้จักมากขึ้นเป็นที่รู้จักของผู้อื่นจำนวนผู้ท่องเที่ยวมากขึ้น

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

  • สำนักปลัด
  • ส่วนการศึกษา

ความเชื่อมโยง

  1. ยุทธศาสตร์จังหวัด

ยุทธศาสตร์ที่  ๒  ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว :

๒. ยุทธศาสตร์ประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่  1การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อหลุดพ้นจากประเทศปานกลาง

๓. ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคกลางตอนบน ๒ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง 

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวจากฐานความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๔. ยุทธศาสตร์ อบต. หนองทรายขาว

ยุทธศาสตร์การส่งเสริม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  3

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

พันธกิจ:  พัฒนาด้านการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ การศึกษา พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนส่งเสริมอาชีพ

เป้าประสงค์:  ส่งเสริมด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสร้างเสริมปัญญาให้เกิดการพัฒนาต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ

ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

จำนวน ครัวเรือน และกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม

              กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
ส่งเสริมภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ จำนวนรายได้เพิ่มขึ้น

จำนวนรายจ่ายลดลง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาตามศักยภาพ จำนวนผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการด้านการศึกษาและการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น
สร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบและวิถีการหลากหลายและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวนผู้เข้ารับบริการระบบข้อมูลสารสนเทศและข้อมูลข่าวสารในองค์การบริหารส่วนตำบลมากขึ้นเกิดการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานกับภาครัฐเอกชนและผู้ใช้บริการ จำนวนผู้เข้ารับบริการข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และมีการเข้าระบบเว็บไซต์อบต. และการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานมีประชาชนมาข้อรับข้อมูลบริการฐานข้อมูลมากขึ้น

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

  • สำนักปลัด

ความเชื่อมโยง

  1. ยุทธศาสตร์จังหวัด

                        ยุทธศาสตร์ที่  ๓ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สุขภาวะที่ดี

๒. ยุทธศาสตร์ประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่  การลดความเหลื่อมล้ำ ประเด็นที่ ๑๐ ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แนวทาง ๑๐.๑ การปฏิรูปการศึกษา ระบบการศึกษา หลักสูตรเทคโนโลยีดูแลเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน และการใช้ ICT ในการพัฒนาระบบการศึกษา

๓. ยุทธศาสตร์ อบต. หนองทรายขาว

ยุทธศาสตร์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  4

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัยและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

พันธกิจ:  พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลอย่างยั่งยืน คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลหนองทรายขาว

เป้าประสงค์:  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ประชาชนอยู่ดีกินดีมีสุข

ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

จำนวนพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมดี แม่น้ำลำคลองมากขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น

              กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านสังคม ส่งเสริมกีฬา สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การเพิ่มขึ้นของประชาชนที่รักษ์สิ่งแวดล้อม
แนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปโภคเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ร้อยละของจำนวนขยะลดลง

ร้อยละของจำนวนพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น

ภูมิทัศน์น่าอยู่

พัฒนาแหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มมากขึ้น ร้อยละของจำนวนแหล่งน้ำเพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมสุขภาพและการสาธารณสุข ร้อยละของผู้ได้รับการส่งเสริมสุขภาพและการสาธารณสุข
ประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชนในเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการกำจัดขยะอย่างถูกสุขลักษณะ ร้อยละของผู้ร่วมโครงการเกิดสามัญสำนึกและหวงแหนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ครอบครัวอบอุ่น ร้อยละของกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความเข้มแข็งครอบครัวอบอุ่น มีความเป็นอยู่ดีมีสุข
สร้างหลักประกันทางสังคมให้กับเด็กและเยาวชนคนชราผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการเกิดหลักประกันทางสังคมเกิดการสร้างงานสร้างอาชีพแก่ผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

  • สำนักปลัด
  • ส่วนโยธา
  • ส่วนการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม

ความเชื่อมโยง

  1. ยุทธศาสตร์จังหวัด

ยุทธศาสตร์ที่  3ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี

๒. ยุทธศาสตร์ประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศหลุดพ้นจากประเทศ ประเด็นหลักที่ ๔ โครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การลดความเหลี่ยมล้ำ ประเด็นที่ ๑๑ การยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการบริการสาธารณสุข ๑๒ การจัดสวัสดิการสังคมและการดูแลผู้สูงอายุเด็กสตรีและผู้ด้อยโอกาส

๓. ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคกลางตอนบน ๒ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง 

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

๔. ยุทธศาสตร์ อบต. หนองทรายขาว

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัยและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  5

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากร และหน่วยงานภาครัฐ

            พันธกิจ:  ส่งเสริมและบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ส่งอบรม เพิ่มศักยภาพการทำงาน เป็นการเสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยตามภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

          เป้าประสงค์: พัฒนาบุคลากรในองค์กรภาครัฐ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย เน้นการบริหารจัดการและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้ความเป็นธรรมกับคนในสังคม

ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

เป็นศูนย์กลางของชุมชนและประชาชน ความสำเร็จขององค์กรประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

              กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรและองค์กรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวนบุคลากรได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น
จัดหาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อนำมาใช้ในองค์กรให้ประสิทธิภาพ จำนวนเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ใช้ในอาคาร สถานที่ ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละของประชาชนที่รับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น

จำนวนช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น

ร้อยละของจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น

ร้อยละของจำนวนประชาชนที่พึงพอใจเพิ่มขึ้น

ร้อยละของการมีส่วนร่วมทุกด้านเพิ่มขึ้น

ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการทำงาน อาคารสถานที่ปฏิบัติงาน อำนวยความสะดวกลดขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ขยายการให้บริการประชาชน จำนวน อาคาร สถานที่ ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น

มีสถานที่สะดวกสบายเพื่อรองรับการให้บริการประชาชนมากขึ้น

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

  • สำนักปลัด
  • กองช่าง
  • กองคลัง
  • ส่วนการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม

ความเชื่อมโยง

  1. ยุทธศาสตร์จังหวัด

                        ยุทธศาสตร์ที่  3   ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :

การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะและระบบการบริหารจัดการของ อปท.ในการพัฒนาประเทศ การสร้างและการใช้ภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายของหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

๓.  ยุทธศาสตร์ ประเทศ 

การสร้างความสมดุลและปรับปรุงระบบบริหารจัดการภาครัฐ ประเด็น ๒๔ การปรับโครงสร้างระบบราชการ ๒๔.๑ เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรภาครัฐและพัฒนารูปแบบบูรณาการ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ๒๕. การพัฒนากำลังคนภาครัฐ

๔.  ยุทธศาสตร์ อบต.หนองทรายขาว

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากร และหน่วยงานภาครัฐ

จุดยืนทางยุทธศาสตร์(Positioning) ของ อปท.

ภายใต้การพัฒนาตามวิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาว

“ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี มีชุมชนเข้มแข็ง เป็นแหล่งเกษตรกรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ชื่อเสียงมุ่งสู่เมืองน่าอยู่”

ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา

                        ๑.  การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชน

๑.ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1.1  ด้านคมนาคม

1.1.1  การเดินทางถนนถนนบางสายไม่สะดวก เนื่องจากเป็นถนนลูกรัง ถนนดิน

1.1.๒  ไม่มีถนนและสะพานเพื่อเข้าออกหมู่บ้านและเพื่อขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตรเนื่องจากสถานที่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทรายขาวไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้

1.1.๓  งบประมาณไม่เพียงพอ

1.2 ด้านสาธารณูปโภค

1.2.1  ระบบไฟฟ้า  ประปา  ไม่ทั่วถึงทุกรัวเรือน

1.2.2  โทรศัพท์สาธารณะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน

1.2.3  ไฟฟ้าสาธารณะไม่เพียงพอ

1.2.4  ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง

1.2.5  ราษฎรไม่มีภาชนะเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

1.2.6  ราษฎรขาดระบบประปาที่ดีในหมู่บ้าน

1.2.7  ราษฎรขาดระบบชลประทานที่ดี

1.2.8  ไม่มีทางระบายน้ำและแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติ

1.2.9  คู คลอง ขาดการปรับปรุงดูแล

1.2.10  งบประมาณไม่เพียงพอ

  1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

2.1 การประกอบอาชีพ

2.1.1  ราษฎรไม่มีอาชีพเสริม

2.1.2  ไม่มีระบบประกันราคาสินค้า

2.1.3  ราษฎรขาดที่ทำกินในการเกษตร

2.1.4  ราษฎรขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ

2.1.5  ราษฎรไม่มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง

2.1.6  ราษฎรไม่มีการรวมกลุ่ม

2.2  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

2.2.1  ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่อย่างเต็มที่

2.2.2  แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน

2.2.3  แหล่งน้ำมีไม่เพียงพอ

2.2.5  คู คลองมีวัชพืชหนาแน่น

  1. ปัญหาด้านสังคม

3.1  ด้านครอบครัวและชุมชน

3.1.1  คนในชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนรวม

3.1.2  ปัญหาการเล่นพนัน

3.1.3  ไม่มีแหล่งเรียนรู้ชุมชน

3.1.4  ไม่มีระบบการเรียนรู้และการรวมกลุ่มอย่างถาวร

3.๒ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3.๒.1  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยังไม่เพียงพอ

3.๓  ด้านยาเสพติด

3.๓.1  ยาเสพติดแพร่ระบาดในชุมชน

3.๓.2  การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดไม่ทั่วถึง

3.๔  ปัญหาด้านสาธารณสุข

3.๔.1. การแพร่ระบาดของโรค

3.๔.2. สถานีบริการด้านสาธารณสุขและการอนามัยไม่เพียงพอ

3.๔.3 ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

3.๕.  ปัญหาด้านการศึกษา 

3.๕.1 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาไม่เพียงพอ

3.๕.2 ขาดเงินทุนและโอกาสในการศึกษาต่อ

3.๕.3 สถานศึกษาไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับสถานศึกษาในชุมชนเมือง

3.๕.4 อาคารเรียนเก่าไม่ทันสมัย

3.๖  ด้านกีฬาและนันทนาการ

3.๖.1  เด็ก  เยาวชน  ประชาชนให้ความสำคัญกับการกีฬาน้อย

3.๖.2  ขาดผู้นำด้านการกีฬาในชุมชน กิจกรรมไม่ต่อเนื่อง

3.๖.3  ชุมชนมีสถานที่ออกกำลังกายและที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

3.๗  ด้านศาสนาและวัฒนธรรม

3.๗.1 ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณี  วัฒนธรรม

3.๗.2  ขาดการรณรงค์ฟื้นฟูและอนุรักษณ์วัฒนธรรมประเพณี

3.๗.3   เยาวชนขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน และด้านศาสนาวัฒนธรรม

3.๘  ปัญหาด้านการเมืองการบริหาร

3.๘.1. ประชาชนขาดกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง

3.๘.2 ประชาชนไม่เข้าใจการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

3.๘.๓  ด้านการเมือง – การบริหาร

3.๘.5 บุคลากรมีไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

3.2.2 อาคารที่ทำการไม่เพียงพอ

  1. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.๑   ขาดงบประมาณในการพัฒนา

การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้วยเทคนิค SWOT Analysis  (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค)

จุดแข็ง จุดอ่อน
1.  ระบบการบริหาร

–  มีการจัดโครงสร้างภายในที่เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ

–  ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

–  การบริหารจัดการยึดหลักธรรมมาภิบาล

–  มีการแบ่งงาน / มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

 

 

 

 

2.  ระบบข้อมูล

–  มีการจัดเก็บข้อมูลในการดำเนินการ

 

3.  อัตรากำลัง  (พนักงานส่วนตำบล/ลูกจ้าง)

–  บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่

–  ได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

-มีการกำหนดแผนอัตรากำลังตาม

โครงสร้าง

 

4.  การเงิน/งบประมาณ

–  การบริหารงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

5.  ศักยภาพของชุมชน

–  มีกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน  จำนวน ๑๓ กลุ่ม

 

 

6.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– มีแหล่งน้ำธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์

ในการเกษตร

 

1.  ระบบการบริหาร

–  กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ มีการปรับปรุงแก้ไขตลอดเวลา  ทำให้ศึกษาไม่ทัน  ขาดความชัดเจนในการดำเนินงาน

–  พื้นที่รับผิดชอบมาก  ไม่สามารถบริการการพัฒนาได้ทั่วถึง

–  ปริมาณงานมีมาก   บุคลากรมีน้อย  มีผลทำให้ผลงานไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร

–  ประชาชนบางส่วนยังขาดการมีส่วนร่วม

 

2.  ระบบข้อมูล

–ไม่มีความรู้ความชำนาญในการจัดเก็บข้อมูล

 

3.  อัตรากำลัง  (พนักงาน/ลูกจ้าง)

–  มีบุคลากรไม่เพียงพอ

–  บุคลากรได้รับมอบหมายงานมากเกินไป

 

 

 

 

4.  การเงิน/งบประมาณ

–  งบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนาในการขยายตัวจากชนบทเป็นเมือง

 

5.  ศักยภาพของชุมชน

–สถานที่และอาคารที่ทำการคับแคบไม่เพียงพอ

สมาชิกมีน้อย

 

6.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

–  ขาดจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน  ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โอกาสการพัฒนาในอนาคต

–  นโยบายของรัฐบาล /จังหวัด  ที่สนับสนุนส่งเสริมด้านการเกษตร อุตสหกรรม  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตำบล

         –  การสร้างความเข้มแข็งตามระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง

–  การแก้ไขปัญหาความยากจน   ปัญหายาเสพติด  ตามนโยบายของรัฐบาล

ปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด

–  กฎหมายระเบียบ   ข้อบังคับ  มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

–  การจัดสรรงบประมาณและระยะการเบิกจ่ายไม่เหมาะสมกับเวลาดำเนินการ

–  ภารหน้าที่เพิ่มมากขึ้น  ตามภารกิจที่ได้รับถ่ายโอน